top of page

4 วิธีวาดรูปคน (Portrait) วาดยังไง มาดูกันเลย !

Updated: 23 hours ago


วาดรูป portrait วาดรูปคน


ทุกคนคิดว่าการวาดภาพส่วนไหนคือส่วนที่วาดยากที่สุด ?  ส่วนตัวเราคิดว่าการวาด Portrait หรือการวาดรูปคนนี้แหละ ! เพราะว่าคนจะมีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะส่วนใบหน้า หรือรูปร่างก็ตาม 


แต่ถึงอย่างนั้นในการวาดรูปคนก็ไม่ได้มีความยากสะทีเดียว เพราะในทางศิลปะก็มีวิธีที่จะช่วยให้เราวาดรูปคนได้ง่ายขึ้นอยู่ด้วยนะ ซึ่งก่อนจะไปรู้จักวิธีการวาดรูป Portrait เรามาทำความเข้าใจการวาดรูป Portrait แบบสั้น ๆ กัน…


Portrait คืออะไร ?

การวาดรูป หรือถ่ายรูป ที่เน้นตัวบุคคลให้มีความโดดเด่นออกมา หรือการให้ความสำคัญกับตัวคนมากกว่าส่วนอื่น เช่น ฉากหลัง เป็นต้น


โดยทั่วไปในการวาดรูปคน จะมีความซับซ้อนกว่าการวาดสิ่งอื่น ๆ เพราะว่าคนจะมีรายละเอียดของโครงสร้างใบหน้า ที่มีความแตกต่างกันมาก แต่ละส่วนก็จะมีวิธีการวาดไม่เหมือนกัน แตกต่างจากการวาดสิ่งของ 


และคนยังมีการแสดงอารมณ์ผ่านสีหน้า และท่าทางต่าง ๆ จึงทำให้เราต้องยิ่งศึกษาการวาดโครงสร้างร่างกายมากขึ้นไปอีก เพื่อให้มีความสมจริง และสื่อถึงอารมณ์มากที่สุด 


ซึ่งในการฝึกวาดรูปคนให้สมจริง และสื่ออารมณ์ได้ อาจต้องอาศัยการฝึกสังเกตและวิเคราะห์ตาม เช่น ผู้ชายคนหนึ่งคิ้วขมวดเข้าหากัน และสายตาที่จ้องเขม็ง อาจบอกได้ว่าผู้ชายคนนี้โกรธอยู่นั่นเอง 


มาต่อที่เทคนิคการวาดที่จะทำให้งานสมจริงขึ้นกันบ้าง หากทุกคนอยากให้มีความละเอียดยิ่งขึ้น เราแนะนำให้ฝึกวาดเฉพาะส่วนก่อน จะทำให้เรารู้รายละเอียดในการวาดส่วนนั้นยิ่งขึ้น เช่น การวาดดวงตา การวาดจมูก การวาดปาก เป็นต้น


ใครอยากที่จะฝึกวาดเฉพาะส่วน ก่อนที่จะไปวาดรูปคนกันต่อ เราแนะนำวิดีโอนี้เลยค่ะ !




และวิธีวาดรูปคนที่เราอยากมาแชร์ให้ทุกคนอ่านนี้ จะเป็นวิธีการวาดภาพพื้นฐานที่ทุกคนสามารถนำไปใช้วาดตามกันได้ และยังช่วยให้การวาด Portrait ของเราง่ายขึ้น และเก็บรายละเอียดอื่น ๆ ได้ครบอีกด้วย


4 วิธีวาดรูป Portrait




1.แบ่งสัดส่วนของใบหน้า

ถ้าทุกคนฝึกวาดแบบแยกส่วนแล้ว เราก็จะมาวาดหน้าคนจริง ๆ กัน ! โดยจะเริ่มจากการวาดโครงสร้างของใบหน้าทั้งหมดก่อน ซึ่งการวาดรูปคนแบบเหมือนจริง นั้นจะถูกแบ่งสัดส่วนออกเป็น 3 ส่วนครึ่ง ได้แก่



แบ่งสัดส่วนของหน้า

  • ส่วนที่ 1 จากปลายคางถึงปลายจมูก

  • ส่วนที่ 2 จากปลายจมูกถึงคิ้ว

  • ส่วนที่ 3 จากคิ้วถึงโคนผม

  • ส่วนที่ 3 1/2จากโคนผมจนถึงส่วนบนของศีรษะ


เมื่อแบ่งสัดส่วนของใบหน้าได้แล้ว เราก็จะมากำหนดตำแหน่งของอวัยวะบนใบหน้าแต่ละส่วน ได้แก่ หู ตา จมูก และปาก เพื่อให้เราวาดได้ง่ายขึ้นกัน 


ตำแหน่งกลางปากอยู่ระหว่างปลายจมูกถึงปลายคาง

ตำแหน่งของอวัยวะแต่ละส่วน

  • ระยะห่างของดวงตาจะห่างกันเท่ากับ ตา 1 ข้าง 

  • หัวตา ตรงกับปีกจมูก 

  • ส่วนบนของหูสูงประมาณหางคิ้ว 

  • ครึ่งส่วนปลายจมูกถึงคาง จะเท่ากับกลางปาก



2.ถ่ายทอดคาแรคเตอร์ของต้นแบบออกมา

ต่อมาจากการวางตำแหน่งคร่าว ๆ แล้ว เราก็จะมาเก็บรายละเอียดกันค่ะ ซึ่งการวาดรูปเหมือน ให้เหมือนต้นแบบนั้น จะต้องจับคาแรคเตอร์ หรือจุดเด่นของบุคคลนั้นให้ได้ 

ถ่ายทอดคาแรคเตอร์ของต้นแบบออกมา เช่นจากดวงตา

เช่น มีตาโต 2 ชั้น มีตาชั้นเดียว หรือมีจมูกเล็ก มีจมูกใหญ่ เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้ เราสามารถขยับตำแหน่งของส่วนนั้น ๆ ได้ตามลักษณะของต้นแบบได้เลยค่ะ


ถ่ายทอดคาแรคเตอร์ของต้นแบบออกมา เช่นจากจมูก

3.ลงน้ำหนัก แสง-เงา

การลงน้ำหนัก แสง-เงา เป็นส่วนที่ยากนิดหน่อย และยิ่งรูปคนด้วยแล้วจะค่อนข้างต้องทำความเข้าใจเรื่องของแสงเงาให้ได้ งั้นเรามารู้จักแสง-เงากันคร่าว ๆ ก่อนค่ะ


การที่จะเกิดเงาบนวัตถุได้ จะต้องมีต้นกำเนิดของแสงที่ชัดเจน โดยไม่ว่าแสงจะมีจุดกำเนิดจากตรงไหน แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงตลอด และเงาจะเกิดในฝั่งตรงข้ามกับแสงเสมอ ซึ่งทำให้เราคาดเดาทิศทางของเงาได้ง่ายขึ้นนั่นเอง


ลงน้ำหนักแสง-เงา

แต่เราหลายคนมักจะวาดรูปคนในห้องสตูดิโอที่มีแหล่งกำเนิดแสงจาหลายที่ เช่น แสงจากหน้าต่าง สะท้อนกับเพดาน หรือแสงที่สะท้อนจากพื้นห้องเองก็ตาม 


ซึ่งจะทำให้ลงน้ำหนักแสง-เงาได้ยากขึ้น ฉะนั้นการวาดรูปคนโดยมีต้นกำเนิดแสงที่ชัดเจน อย่างการใช้ ไฟสตูดิโอ ก็จะช่วยให้เราทำงานได้ง่ายขึ้นค่ะ โดยการกำหนดแสง-เงาของเราก็สามารถเลือกใช้ได้ 2 วิธี ได้แก่


แหล่งที่มาข้อมูล Eckersleys : 5 Tips for Capturing Light and Shadow in a Painting 


3.1 แสง-เงาจากต้นแบบจริง อย่างเช่นมีนางแบบ นายแบบมานั่งเป็นโมเดลให้ เราก็สามารถจัดไฟช่วย กำหนดทิศทางแสง เงาที่ จะให้เป็นได้เลยค่ะ โดยการใช้ต้นแบบจริงจะทำให้เราสังเกตน้ำหนักของแสงเงาได้ดียิ่งขึ้น 

แสงเงาจากรูปจริง

3.2 แสง-เงาจากภาพถ่าย

ก็คือการถ่ายภาพจากแบบจริงมาอีกที ซึ่งควรเลือกภาพที่มีน้ำหนักชัดเจน หรือตั้งค่ารูปภาพให้มีน้ำหนักแสงเงาชัดเจนขึ้น แต่วิธีนี้เราจะไม่สามารถกำหนดทิศทางของแสงได้เอง เพราะขั้นตอนการจัดแสงมันอยู่ในส่วนของการถ่ายภาพตั้งแต่แรกอยู่แล้วนั่นเอง

แสง-เงาจากภาพถ่าย

โดยการลงน้ำหนักที่ลงส่วนใบหน้า จะมีส่วนที่เป็นระนาบซ้อนกัน หรือเป็นส่วนที่เงามืดสุด เช่น รูจมูก ใต้จมูก ข้าง ๆ สันจมูก ใต้ตา ในส่วนนั้นก็ไม่ควรลงเข้มจนเกินไป เพราะยังไงก็ยังมีความเป็นสีผิวอยู่ จึงอาจไม่ต้องลงเข้มมากก็ได้


ในส่วนของแสง ไฮไลต์แสงที่จะเกิดขึ้นส่วนใหญ่บนใบหน้าจะอยู่บริเวณ ปลายจมูก สันจมูก โหนกแก้ม หน้าผาก ริมฝีปาก เพราะคือส่วนที่ยื่นออกมามากที่สุด ทำให้แสงตกกระทบได้ง่าย แต่ก็ไม่ควรเว้นว่างจนเกินไป อาจลงน้ำหนักอ่อน ๆ ให้เกิดการไล่น้ำหนักของแสง - เงา นั่นเอง

ไฮไลต์ผม

และส่วนที่หลายคนน่าจะคิดว่ายากที่สุด ก็คือ ผม ไฮไลต์ผมน้อง ๆ อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจว่าควรลงน้ำหนักยังไงดี  ซึ่งจริง ๆ แล้วก็จะเว้นไว้ แต่ไม่ปล่อยขาวไปเลยทีเดียว เราก็ใช้เส้นเข้าไปอยู่ในส่วนเงาผมด้วยให้ดูเป็นเส้นผม และน้ำหนักที่เข้มที่สุดของผมไม่ว่าจะมีสีผมแบบไหน จะอยู่บริเวณหลังหูเสมอ 

การลงน้ำหนักรูปภาพ

ทริคเล็ก ๆ  สำหรับการลงน้ำหนัก เราควรลงน้ำหนักบริเวณ ตาขาว ด้วยนะ ! เพราะว่าเปลือกตาก็จะบังบางส่วนของดวงตาอยู่ ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำหนักได้ค่ะ


4. เก็บรายละเอียดก่อนจบงาน

เก็บรายละเอียดครั้งสุดท้าย ขั้นนี้สำหรับคนที่ยังไม่ชำนาญในการใช้เส้นมาก หรือยังสานเส้นไม่คล่อง ก็สามรถเก็บงานด้วยเส้น 45 องศาได้นะ หรือก็คือการวาดเส้นเอียงในส่วนนั้น ๆ ให้เกิดความเข้มค่ะ


วาดคนด้วยดินสอ

ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วยังไม่เข้าใจ หรืองง ๆ อยู่ การเห็นแค่ภาพและตัวหนังสือาจทำให้เราจินตนการได้ไม่มากพอ ก็ลองดูเป็นวิดีโอข้างล่างนี้ได้เลยนะ ทุกคน 


ภาพคนวาดด้วยดินสอ

หรือน้อง ๆ ที่สนใจศิลปะ อยากลองฝึกวาดงานแบบอื่น หรืออยากลองเทนิควาดภาพใหม่ ๆ ไปฝึกวาดยามว่าง หรือไปใส่ในพอร์ตสวย ๆ ก็กดเข้ามาอ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์นี้เลยนะ เรายังมีสอนเกี่ยวกับงานศิลป์ทุกรูปแบบที่นำไปใช้ได้จริง อย่าลืมแวะเข้ามาหากันน้าาา



16 views0 comments

Commentaires


bottom of page