“น่าประทับใจ ฉันคิดแบบนั้น เมื่อฉันรู้สึกประทับใจ มันก็ต้องมีส่วนที่รู้สึกแบบนั้นอยู่บ้าง แต่ดูนี่สิ มันดูง่ายไปหมดเลย ! ฉันเหมือนยืนดูสีที่แต้มบนกำแพงมากกว่าดูวิวของท้องทะเลซะอีก”
ใครจะไปคิดว่าแค่คำวิจารณ์สั้น ๆ จากผู้วิจารณ์ภาพวาดนี้ จะทำให้กำเนิดคำนิยามศิลปะที่เราเห็นได้จากทั่วโลก และศิลปินผู้ให้กำเนิดภาพวาด ผู้ออกนอกกรอบจากความนิยมในวัง สู่ลัทธิศิลปะแห่งความประทับใจ ‘Claude Monet’
Claude Monet คือใคร ?
หลายคนอาจเคยเห็นภาพวาดเขามาบ้างแล้ว เช่น รูปสระบัว รู้ผู้หญิงถือร่มท่ามกลางทุ่งหญ้า แต่ก็อาจยังไม่รู้จักศิลปินผู้วาด ก่อนจะไปรู้จักศิลปะแบบ Impressionism หรือลัทธิประทับใจ เรามารู้จัก Monet แบบคร่าว ๆ กันก่อนนะ
Claude Monet (อ่านว่า โกรด โมเนต์) หรือ Oscar-Claude Monet เกิดในปี 1840 ที่กรุงปารีส และเติบโตในเมืองเลออาฟวร์ (Le Havre) ในแคว้นนอร์ม็องดี (Normandie) ประเทศฝรั่งเศส
โมเนต์เติบโตในครอบครัวชนชั้นกลาง ทำงานร้านขายของชำและอุปกรณ์เรือ ซึ่งเป็นงานที่คุณพ่ออยากให้เขาทำมาก ๆ คล้ายอยากส่งต่อธุรกิจนี้ให้ แต่เขามีความปรารถนาจะเป็นจิตรกร และเขาเป็นคนที่มีพรสวรรค์ในการวาดภาพมาตั้งแต่เด็ก ในวัยมัธยม เขาเคยวาดภาพการ์ตูนล้อเลียน ของบรรดาคุณครูของเขาจากถ่านไม้ ซึ่งเป็นงานภาพบุคคลชิ้นแรก ๆ ที่ดูน่าสนใจ และสวยงามไม่น้อยเลย
ภาพวาดการ์ตูนล้อเลียนบรรดาคุณครูของโมเนต์
บริบทงานศิลปะในศตวรรษที่ 19
ในยุคนี้จะเรียกว่าช่วงเปลี่ยนผ่านก็ได้ งานศิลป์ในยุคก่อนหน้าจะเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยาก จะมีเพียงบุคคลที่มีฐานะดีเท่านั้น และส่วนใหญ่งานศิลปะจะเป็นเกี่ยวกับการวาดภาพบุคคล ศาสนา หรือเหตุการณ์สำคัญเท่านั้น และภาพวาดส่วนใหญ่ยังเป็นรูปแบบเรียลลิสซึมที่จะเน้นการวาดให้เหมือนจริงอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าค่อนข้างแตกต่างกันกับลัทธิประทับใจโดยสิ้นเชิง เพราะลัทธิประทับใจจะมีความเป็นธรรมชาติ หรือการใช้ชีวิตมากกว่า ทำให้ดูเข้าถึงง่ายและกลายเป็นที่นิยมกว้างขวางมากกว่านั่นเอง
ลักษณะของลัทธิประทับใจ
วาดภาพที่เป็นธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต เช่น ทิวทัศน์ ผู้คน
เน้นการวาดถ่ายทอดชีวิตประจำวัน เช่น ผู้คนกำลังดื่มน้ำชายามบ่ายที่สวน
เข้าถึงง่าย ไม่ซับซ้อน เห็นแล้วรู้ได้เลยว่าสิ่งที่วาดคืออะไร
ลักษณะของลัทธิศิลปะสัจนิยม (Realism)
วาดภาพเน้นความสมจริง เช่น รูปของบุคคล หรือเหตุการณ์สำคัญ
บางภาพวาดจะดูเกินจริง หรือเป็นโลกในอุดมคติของสังคม เช่น รูปวาดของเทพเจ้ากรีก
ภาพวาดมีรายละเอียดเยอะ ทำให้เข้าถึงความรู้สึกงานได้ยาก
แล้วมันเกิดลัทธิประทับใจ หรือ Impressionism ได้ยังไงกันละ ? งั้นเรามาลองอ่านกันต่อเลย…
กำเนิด อิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism) ได้ยังไง ?
ต้องเริ่มจากช่วงศตวรรษที่ 19 นั้น เริ่มมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น ซึ่งศิลปะเองก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย จากสีน้ำมันที่พกพายาก เพราะต้องใส่ในภาชนะที่ใหญ่เกินไป ก็ถูกนำไปใส่หลอดห่อเล็ก ๆ พกพาออกไปวาดภาพข้างนอกได้
จิตรกรยุคนั้นจึงมีการออกมาทำงานรับแสงแดดข้างนอกกันมากขึ้น และโมเนต์เขาได้ย้ายมาวาดภาพข้างนอกเช่นกัน ซึ่งเขาจะวาดแค่สิ่งที่เขาประทับใจเท่านั้น ซึ่งนี้แหละคือจุดเริ่มต้นของงานแบบ อิมเพรสชันนิสม์ !
แต่ในยุคนั้นการวาดอะไรพวกนั้นจะไม่เป็นที่นิยมมาก ผู้คนก็เชื่อกันว่าถ้าเราจะวาดรูปทิวทัศน์ หรืออะไรก็ตามที่มีการตกกระทบของแสง แสงธรรมชาติจะเปลี่ยนไปทุก ๆ ครึ่งชั่วโมง การวาดรายละเอียดทุกอย่างในระยะเวลาสั้น ๆทำให้การวาดภาพข้างนอกที่มีแสงธรรมชาตินั้นเป็นไปได้ยาก ตัวอย่างเช่น ภาพวาดสีน้ำมหาวิหารรูอ็อง ที่นอร์มังดี ปี 1894
Rouen Cathedral, West Façade, Sunlight, 1894
เครดิตรูปภาพ : nga.gov
ดูจากบรรยกาศในภาพ แน่นอนว่าแสงอาทิตย์จะตกในไม่ช้า รูปมันจะถูกลดทอนดีเทลไปหมดทุกอย่าง และถ้าสังเกตว่างานอิมเพลสชั่นนิสส่วนใหญ่เนี่ยจะใช้สีที่สดใสและก็มักทีจะไม่ใช้สีดำ จึงดูมีความสดใหม่มากกว่ายุคก่อน
Impression Sunrise, 1868
ส่วนภาพของโมเนต์ที่ทำให้เกิดลัทธิประทับใจนั้น คือ ภาพวาดอาทิตย์ตกที่ท่าเรือนอร์มังดี หรือมีชื่อเรียกว่า “Impression Sunrise, 1868” นั่นเอง
ซึ่งภาพวาดนั้นก็ได้นำมาร่วมจัดแสดงที่ Salon แห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส และเมื่อหลุยส์ เลอรอย (Louis Leroy) นักวิจารณ์งานศิลปะได้เห็นภาพนี้เข้า ก็วิจารณ์ว่างานของโมเนต์ทำหน้าที่แค่สร้างความประทับใจให้ผู้ชมเฉย ๆ ไม่ได้มีคุณค่าในเชิงศิลปะเลย
ซึ่งทางฝั่งของโมเนต์และเพื่อน ๆ ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรกับคำเย้ยหยันนี้ อีกทั้งยังเริ่มใช้คำว่า “อิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism)” เป็นคำนิยามแทนงานศิลปะแนวนี้ของโมเนต์และเพื่อน ๆ อีกด้วย
หลังจากนั้นความนิยมในการวาดภาพแบบลัทธิประทับใจ ก็แพร่หลายมากขึ้นและก็ได้สร้างศิลปินเลื่องชื่อในยุคต่อ ๆ มา เช่น วินเซนต์แวนโก๊ะ ปอล โกแก็ง หรือปาโบล ปิกาโซ ผู้ให้กำเนิดลัทธิบาศกนิยม (Cubism) นั่นเอง
ทำให้เห็นว่าศิลปะนั่นไม่มีถูกผิด การแหกค่านิยมบางอย่างในยุคที่ไม่มีใครคิดว่าจะสามารถทำอะไรกับงานศิลป์ได้อีกแล้ว และอยู่กับสิเดิม ๆ จะทำให้เปลี่ยนโลกได้ขนาดนี้ และโมเนต์และเพื่อน ๆ เองก็เป็นกลุ่มคนที่ทำมันได้ และยังคงมีผลงานให้เห็น และศึกษาอยู่จนถึงปัจจุบัน
__
Comments